โครงการศึกษาการจัดทำแผนโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงฐานการผลิตในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับประตูการค้าในพื้นที่ภาคใต้ จังหวัดระนอง

ปัจจุบันการกระจายสินค้าเพื่อส่งออกและนำเข้าจะผ่านท่าเรือในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว โดยในการขนส่งสินค้าไปยังประเทศที่อยู่ทางด้านมหาสมุทรอินเดียจะต้องขนส่งผ่านช่องแคบมะละกาและมีการถ่ายลำที่ประเทศสิงคโปร์หรือมาเลเซียก่อน ซึ่งมีปริมาณเรือสินค้าจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายและระยะเวลามากขึ้น

ในขณะที่ประเทศไทยมีชายฝั่งทะเลติดกับมหาสมุทร 2 ด้าน คือ ฝั่งอ่าวไทยด้านตะวันออกติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ฝั่งอันดามันด้านตะวันตกติดกับมหาสมุทรอินเดีย รวมทั้งมีประตูการค้าในฝั่งอันดามัน ท่าเรือระนองเป็นท่าเรือตู้สินค้าและใช้เป็นประตูการค้าของไทยในการขนส่งสินค้าออกสู่มหาสมุทรอินเดียได้ ปัจจุบันมีขีดความสามารถในการรองรับเรือสินค้าขนาดใหญ่ได้ ดังนั้นประเทศไทยจึงมีความได้เปรียบทางที่ตั้งและภูมิศาสตร์ที่มีลักษณะทางกายภาพสามารถเปิดสู่ทะเลทั้งสองด้าน จึงเป็นโอกาสที่จะได้ใช้ประโยชน์จากทำเลที่ตั้งดังกล่าวเพื่อนำมาพัฒนาเป็นเส้นทางทางเลือกในการขนส่งสินค้าทางทะเลเพื่อเชื่อมโยงฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน ดังนั้น หากสามารถพัฒนาให้เกิดการขนส่งเชื่อมโยงระหว่างสองฝั่งทะเล เพื่อรองรับการพัฒนา EEC ก็จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ

ในการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ณ จังหวัดชุมพร เมื่อเดือนสิงหาคม 2561 

ได้มีมติเห็นชอบโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ โดยจะเริ่มในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ซึ่งโครงการที่จะเร่งผลักดัน คือ โครงการพัฒนาท่าเรือระนอง โครงการระบบรถไฟทางคู่ และโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตกหรือโครงการไทยแลนต์ ริเวียร่า เพื่อพลิกโฉมการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ เพิ่มรายได้ให้มากขึ้น

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรได้พิจารณาและเห็นความจำเป็นเร่งด่วนและประสิทธิภาพของการลงทุนในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพตอบสนองต่อการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ และเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงฐานการผลิตในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับประตูการค้าในพื้นที่ภาคใต้ที่สามารถตอบสนองการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงฐานการผลิตในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับประตูการค้าในพื้นที่ภาคใต้ เพื่อส่งต่อสินค้าไปยังกลุ่มประเทศ BIMSTEC หรือตะวันออกกลาง ยุโรป ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำโครงการศึกษาการจัดทำแผนโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงฐานการผลิตในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับประตูการค้าในพื้นที่ภาคใต้ จังหวัดระนอง


CONTACT

1199 Piyawan Tower 8th Fl.,Phaholyothin Rd., Phayathai, Phayathai, Bangkok 10400

Tel : (+66) 2 619-9931

Fax: (+66) 2 619-9932

E-mail : dc@decade.co.th