โครงการจ้างที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการทางพิเศษสายศรีนครินทร์ – ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
The Feasibility Study of Engineering, Economy, Finance and Environmental Impact : Srinakarin - Suvarnabhumi Airport Expressway Project
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (กรุงเทพฯ-ชลบุรี สายใหม่) ของกรมทางหลวง (ทล.) เป็นเส้นทางสายหลักที่ ให้ บริการประชาชนเพื่ อเดินทางเชื่อมต่อไปยังภาคตะวันออก ทั้งจังหวัดชลบุ รี ระยอง จันทบุ รี ผ่านท่าอากาศยานสุวรรณภูมิซึ่งเป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศไทยรองรับมีการใช้บริการของ สายการบินจํานวนมาก ให้บริการขนส่งเชิงพาณิชย์ทั้งผู้โดยสารและสินค้าต่าง ๆ จึงเป็นแหล่งที่ทําให้เกิดการเดินทาง ซึ่งมีปริมาณการเดินทางเติบโตสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (ปี 2562) มีจํานวนผู้โดยสารใช้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิสูงถึง 65 ล้านคน และมีปริมาณขนส่งสินค้า 1.35 ล้านตัน ส่งผลให้ปริมาณการจราจรเพิ่มขึ้นอย่างมากตามการเติบโตและการขยายตัวอย่างรวดเร็วของปริมาณการเดินทางและ การขนส่งสินค้าทางอากาศที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมอย่าง รวดเร็วของบริเวณพื้นที่ด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ทั้งบริเวณสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องลาดกระบัง (ICD ลาดกระบัง) ซึ่งเชื่อมต่อกับทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และโครงข่ายถนนโดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจึง ส่งผลให้เกิดปัญหาการจราจรเป็นอันมาก โดยเฉพาะทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 เกิดปัญหาการจราจรติดขัดเป็น ช่วง ๆ ต่อเนื่องจากบริเวณทางแยกศรีนครินทร์ ถึงบริเวณทางเชื่อมเข้า-ออก ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จนกระทั่งถึง บริเวณพื้นที่ลาดกระบัง โดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วน ดังนั้น หากมีการดําเนินการโครงการทางพิเศษยกระดับ บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ในช่วงศรีนครินทร์-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาการจราจร ติดขัดที่เกิดขึ้นในช่วงดังกล่าวได้ และสามารถเชื่อมต่อการเดินทางเข้าสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และสามารถรองรับปริมาณการเดินทางคมนาคมและขนส่งที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต โดย ทล. ได้ดําเนินการศึกษาความเหมาะสมโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายทางยกระดับศรีนครินทร์- ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (M7) ในปี 2559 และในปี 2564 ทล. ได้ทําการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ ตาม พ.ร.บ. การให้เอกชนร่วมลงทุนฯ พ.ศ. 2562 แล้วเสร็จ
ต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (รวค.) ได้มีนโยบายให้ ทล. กรมทางหลวงชนบท (ทช.) และ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) บูรณาการการดําเนินงานร่วมกัน เพื่อให้การพัฒนาโครงการทางหลวง พิเศษระหว่างเมือง โครงการทางหลวงชนบท และโครงการทางพิเศษในอนาคตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง จะก่อให้เกิดประโยชน์ในภาพรวมต่อประเทศ และประชาชนผู้ใช้ทางได้รับความสะดวก ปลอดภัย ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางได้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งเพื่อให้การบูรณาการการพัฒนานวัตกรรม การบริหารจัดการแบบ Single Command การเชื่อมโยงข้อมูล และการแก้ไขปัญหาการจราจรโครงข่ายทาง ถนนดังกล่าวเป็นไปด้วยความรอบคอบและมีประสิทธิภาพ นําไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และเมื่อวันท 11 กรกฎาคม 2565 ได้มีการจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อการบูรณาการการพัฒนา นวัตกรรมและโครงข่ายทางถนนร่วมกันระหว่าง ทล. ทช. และ กทพ. โดยมี รวค. เป็นประธานในพิธี ซึ่งขอบเขตความร่วมมือตามบันทึกข้อตกลงฯ ได้ระบุไว้ว่า ข้อที่ 1.1 5) โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายทางยกระดับศรีนครินทร์-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (M7) ของ ทล. ทั้งสองฝ่ายตกลงให้ กทพ. เป็นผู้ดําเนิน โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายทางยกระดับศรีนครินทร์-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (M7) โดยให้ ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
ดังนั้น กทพ. จึงจะว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อดําเนินงานศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการทางพิเศษสายศรีนครินทร์-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการต่อเชื่อมจากทางพิเศษศรีรัช (ส่วน D) บริเวณถนน ศรีนครินทร์ มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกซ้อนทับไปตามแนวทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 เชื่อมต่อกับถนน วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันออก ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และมีจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณ พื้นที่ลาดกระบัง ดังแสดงในรูปที่ 1 เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการเดินทางที่จะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจร บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 รวมทั้งเป็นการเพิ่มศักยภาพด้านการคมนาคมและแก้ไขปัญหาการจราจรในเขต จังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑลให้เกิดความสะดวกและปลอดภัยต่อผู้เดินทางยิ่งขึ้น
1199 Piyawan Tower 8th Fl.,Phaholyothin Rd., Phayathai, Phayathai, Bangkok 10400
Tel : (+66) 2 619-9931
Fax: (+66) 2 619-9932
E-mail : dc@decade.co.th