โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างท่าอากาศยานบึงกาฬ อำเภอบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ

จังหวัดบึงกาฬเป็นจังหวัดใหม่ที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว เนื่องจากมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติประวัติศาสตร์ โบราณคดีและวิถีชีวิตของประชาชนที่น่าสนใจเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ยอดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเพิ่มมากขึ้นทุกปี ภาวะการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านระหว่างไทยกับ สปป.ลาว ที่ผ่านด่านศุลกากรบึงกาฬจังหวัดบึงกาฬ มีพื้นที่ติดกับแขวงบอลิคำไช สปป.ลาว ระยะทาง 120 กิโลเมตร มีจุดผ่านด่านถาวร จำนวน 1 จุด ได้แก่ ด่านศุลกากรบึงกาฬและจุดผ่อนปรน จำนวน 2 จุดได้แก่ บ้านห้วยคาด อำเภอเมืองบึงกาฬ และบ้านบ่งคล้า อำเภอบ่งคล้า และมีแผนดำเนินการก่อสร้างสะพานแห่งที่ 5 บึงกาฬ-บอลิคำไช เพื่อส่งสินค้าไปยัง สปป.ลาว เวียดนาม และจีน เพื่อส่งเสริมด้านการค้าชายแดนและการท่องเที่ยว จังหวัดบึงกาฬเป็นพื้นที่ส่งเสริม East West Development Corridor ให้มีความเข้มแข็ง เนื่องจากการอยู่ตรงข้ามแขวงบอลิคำไซ ซึ่งเป็นประตูสู่ลาวใต้ และยังเป็นแขวงที่มีความสำคัญด้านการท่องเที่ยว อีกแห่งหนึ่งของ สปป.ลาว เพราะเป็นเมืองท่าด่านติดชายแดนสองประเทศ ส่วนทางด้านทิศตะวันออกบริเวณด่านแก้วเหนือ จะติดด่านกอเตรียมของประเทศเวียดนาม และยังมีเส้นทางการคมนาคมที่สะดวกสามารถเชื่อมโยงกับจังหวัดบึงกาฬ ซึ่งเป็นเครือข่ายแนว ตะวันออก -ตะวันตกที่จะสามารถเชื่อมโยงยังเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม อีกทั้งยังเป็นเส้นทางการค้าและการท่องเที่ยวจากประเทศไทยไปสู่ สปป.ลาว ผ่านไปยังเมืองวินห์ ของประเทศเวียดนามโดยใช้เส้นทางหมายเลข 13 ของ สปป.ลาว และหมายเลข 8 ของเวียดนาม และสามารถเชื่อมไปยังจีนตอนใต้ได้อีกด้วยการค้าชายแดน (Border Trade) ระหว่างจังหวัดบึงกาฬกับแขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว จะเป็นปัจจัยหลักที่สนับสนุนสร้างระบบเศรษฐกิจของจังหวัดให้ทัดเทียมกับจังหวัดอื่นๆ ที่มีชายแดนติดกับ สปป.ลาว ซึ่งด่านศุลกากรบึงกาฬได้ปฏิบัติตามนโยบายกรมศุลกากรโดยมุ่งเน้นการอำนวยความสะดวกด้านการค้าชายแดนระหว่างประเทศและพร้อมที่จะสนองแผนยุทธศาสตร์ของจังหวัดด้านการค้า

นอกจากนี้โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตก็จะเป็นโครงการเพื่อเชื่อมต่อกันเส้นทางคมนาคมจากตะวันตกสู่ตะวันออก (East-West Corridor) ในอนาคตหากนานาประเทศพัฒนาเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อถึงกันตามนโยบายการเปิดประชาคมอาเซียน จังหวัดชายแดนใต้ภูมิภาค ท่าอากาศยานบึงกาฬ จะเป็นทางเชื่อมเข้า-ออกไปสู่เพื่อนบ้านในอาเซียนได้เป็นอย่างดี คาดว่ามีสินค้าผ่านแดน จะส่งผลให้มีเม็ดเงินทั้งด้านการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว เข้าสู่พื้นที่ภูมิภาคอีสานกระจายไปสู่ภาคประชาชนอย่างทั่วถึง

กรมท่าอากาศยาน เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาโครงข่ายและส่งเสริมกิจการท่าอากาศยาน โดยมีอำนาจหน้าที่ในการวิเคราะห์ความจำเป็นและความเป็นไปได้ในการมีท่าอากาศยานแห่งใหม่เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน จึงจัดให้มีโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างท่าอากาศยานบึงกาฬ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจการพัฒนาท่าอากาศยานบึงกาฬโดยกำหนดข้อมูลความเหมาะสมที่สำคัญ ได้แก่ ความเหมาะค้นเศรษฐกิจ ความเหมาะสมด้านวิศวกรรม และความเหมาะสมด้านสิ่งแวดล้อม


CONTACT

1199 Piyawan Tower 8th Fl.,Phaholyothin Rd., Phayathai, Phayathai, Bangkok 10400

Tel : (+66) 2 619-9931

Fax: (+66) 2 619-9932

E-mail : dc@decade.co.th